ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
PhranaKhon Si Ayutthaya Rajabhat University-Business Incubator
ARUBI
หน้าแรก
แนะนำหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ปรัญชา พันธกิจ วิสัยทัศน์
โครงสร้างหน่วยงาน
คณะกรรมการบริหาร
การจัดตั้งและการบริหาร
ติดต่อเรา
Your Account
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจที่มุ่งสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีความเข้มแข็ง ประสบความสำเร็จ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.ให้คำปรึกษาแนะนำนักศึกษา บัณฑิต และบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นผู้ประกอบการในการจัดตั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
2.ให้การสนับสนุนด้ายการบริหารจัดการและเทคโนโลยีการผลิตแก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
3.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักศึกษา บัณฑิต บุคลากร ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์บ่มเพาะเป็นหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยีและศักยภาพด้านวิชาการเพื่อเชื่อมต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
4.สร้างโอกาสทางธุรกิจแก่นักศึกษา บัณฑิต ผู้ประกอบการ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
พันธกิจ
1.สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีความเข้มแข็ง จนเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์
4.พัฒนาระบบและกลไกการบ่มเพาะวิสากิจให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ
5.พัฒนาและยกระดับการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
6.พัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำหน่วยงานให้มีความพร้อมในการบ่มเพาะวิสาหกิจ
7.สร้างและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการบ่มเพาะวิสากิจ
เป้าประสงค์/เป้าหมาย
1.ส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ (Entrepreneurs) หรือบริษัทจัดตั้งใหม่ (Start-up Companies) ที่ได้รับการพัฒนาจากระบบการบ่มเพาะวิสาหกิจจนสามารถทำให้เกิดบริษัทที่เติบโตมีรายได้อย่างยั่งยืน(Spin-Off Companies)
2.ส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่
3.ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้สมัยใหม่ที่อยู่ภายนอก มาสู่การพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ
4.พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ด้านการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการ การพัฒนาธุรกิจ และด้านอื่น ๆ ที่เป็นความต้องการของผู้ประกอบการ
5.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
6.พัฒนาระบบและกลไกการบ่มเพาะวิสากิจให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ และนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
7.พัฒนาและยกระดับการให้บริการที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
8.พัฒนาบุคลากรในกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจให้มีศักยภาพสูงขึ้น
9.สร้างและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการบ่มเพาะวิสาหกิจ เช่น สสว. สวทช. บสย. สภาอุตสาหกรรม หรือกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น